วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา



การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

          การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง คือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยาตอนกลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนต้น

          ในสม้ยนี้เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก พระเจ้าอู่ทองทรงวางรากานการปกครองไว้ ดังนี้

          1.1 การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี)
พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                1) กรมเวียง (กรมเมือง) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร เช่น ปราบปรามโจรผู้ร้าย นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ มีเสนาบดี ตำแหน่ง ขุนเวียง หรือ ขุนเมือง เป็นหัวหน้า

                2) กรมวัง มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก จัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ พิพากษาคดีความของราษฎร มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนวัง เป็นผู้รับผิดชอบ

                3) กรมคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ การแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ

                4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน และจัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนนา เป็นผู้รับผิดชอบ

          1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค

           เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง

               1) เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง) เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทนพระองค์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้นมีเมืองหน้าด่าน ดังนี้

เรื่องเก่า - ชวนรู้

          ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง โปรดเกล้า ฯ ให้พระราเมศวร ซึ่งเป็นพระราชโอรสไปครองเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศเหนือ และโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนหลวงพ่องั่ว ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีไปครองเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตก
               
                2) หัวเมืองชั้นใน เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม อยู่ไม่ไกลจากราชธานี สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก หัวเมืองชั้นในมีความสำคัญคือ ในยามศึกสงครามจะนำกำลังทหารมาสมทบพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งาตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง และคณะกรมการเมืองไปปกครองโดยขึ้นตรงต่อราชธานี หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ มีดังนี้

                ทิศเหนือ เมืองาพรหมบุรี อินทร์บุรี สิงห์บุรี

                ทิศใต้ เมืองเพชรบุรี

                ทิศตะวันออก เมืองปราจีนบุรี

                ทิศตะวันตก เมืองราชบุรี

                3) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา แต่ในบางครั้งเพื่อความมั่นคงของราชธานี พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งขุนนางจากกรุงศรีอยุธยาไปปกครอง หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ มีดังนี้

                 ทิศเหนือ เมืองพิษณุโลก

                 ทิศใต้ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง

                 ทิศตะวันออก เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี

                 ทิศตะวันตก เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย

                4) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย เมืองประเทศราชในสมัยนี้ ได้แก่ เขมร มอญ มะละกา

สมัยอยุธยาตอนกลาง


          ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 1991 - 2231) สมัยนี้เป็นสมัยที่อาณาจักรอยุธยามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเริ่มเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีอำนาจทางการเมืองการปกครองเจริญรุ่งเรืองสูงสุด รวมทั้งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ

          ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป

สาเหตุที่ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองอาณาจักรอยุธยา มีดังนี้

          1. สืบเนื่องจากการที่อยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปกว้างขวาง และได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนท้งหมดไว้ได้

          2. เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง

          3. ทรงต้องการปรับปรุงระเบียบการปกครองที่มีมาแต่เดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น


          1.1 การปกครองส่วนกลาง

          สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงจัดแบ่งขุนนางและไพร่พลทั่วราชอาณาจักรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร

          ในยามที่บ้านเมืองสงบสุข หน้าที่ของฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารจะแยกจากกัน เพื่อรับผิดชอบบริหารบ้านเมืองตามที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อยามเกิดสงคราม ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกำลังกัน เพื่อต่อสู้ข้าศึกศัตรูและป้องกันประเทศให้มั่นคงปลอดภัย

            ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร เพื่อเตรียมไพร่พลและกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพรียง สามารถสู้รบในยามเกิดสงครามได้

            ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลรับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร และคอยกำกับดูแลการทำงานของเหล่าเสนาบดีจตุสดมภ์เดิม ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนชื่อ และปรับปรุงหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง 4 ใหม่ โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างกันไปตามที่ทรงมอบหมาย ดังนี้

            กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และรักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี

            กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก งานราชพิธี และพิพากษาคดีความของราษฎร

            กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่ดูแลรายรับรายจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ จัดเก็บอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

            กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมให้ราษฎรทำไร่ ทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง เพื่อใช้เป็นเสบียงในยามศึกสงครามหรือยามเกิดข้าวยากหมากแพง

            1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค

            สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการปกครองส่วนภูมิภาคให้มีลักษณะแบบเดียวกันกับส่วนกลาง และได้ยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ โดยแบ่งเขตของการปกครองเป็น 3 เขต ดังนี้

                  1) หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เช่น ราชบุรี เพชรบุรี ชัยนาถ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ชลบุรี เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง

                  2) หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสำคัญของแต่ละเมือง ดังต่อไปนี้

                     - เมืองชั้นเอก เป็นเมืองใหญ่ มีประชาชนมาก เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช

                     - เมืองชั้นโท เป็นเมืองที่สำคัญรองลงมา เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร สวรรคโลก

                     - เมืองชั้นตรี เป็นเมืองที่ขนาดเล็ก เช่น ไชยา ชุมพร นครสวรรค์

                  3) หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา เช่น ปัตตานี มะละกา เชียงกราน ทวาย ผู้ปกครองต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาถวายกษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยา โดยมีข้อกำหนด 3 ปีต่อหนึ่งครั้ง และต้องส่งกองทัพมาช่วยสู้รบกับข้าศึกศัตรูเมื่อเมืองหลวงเกิดมีศึกสงครามขึ้น วิธีการปกครองยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น


              1.3 การปกครองส่วนท้องถิ่น

              สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยเริ่มจากหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบลมีกำนันดูแล แขวงมีหมื่นแขวงดูแล และเมืองมีเจ้าเมืองดูแล การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

สมัยอยุธยาตอนปลาย


             ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชาถึงสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศ (พ.ศ. 2231 - 2310) รูปแบบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังคงยึดรูปแบบการปกครองตามที่สมเด้จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดระเบียบไว้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองบางส่วนในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ดังนี้

             1. ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีด้านงานพลเรือน และด้านงานทหาร

             2. ให้สมุหพระกลาโหมรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ตั้งแต่เพชรบุรีลงไป

             3. ให้สมุหนายกรับผิดชอบท้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและดูแลจตุสดมภ์ในส่วนกลาง

             4. ให้เสนาบดีกรมคลังรับผิดชอบทั้งด้านาทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก และดูแลเกี่ยวกับรายได้ของแผ่นดินและการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

             สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ตลอดจนสิ้นอยุธยา

ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

สภาพเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

ลักษณะสังคมสมัยอยุธยยา

รายนามพระมหากษัตริย์ที่ปกครองสมัยอยุธยา

คลิปวีดีโอประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยสุโขทัย



การปกครองสมัยสุโขทัย


          อาณาจักรสุโขทัย เมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆ ยุคสมัยที่รุ่งเรื่องที่สุด คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกัน 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในพ.ศ. 1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2พระองค์จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ. 1981


          อาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะและที่ลาบลุ่มแม่น้ำโขง ตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้


           - ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ ( ปัจจุบัน คือ จังหวัดแพร่ ) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด

          - ทิศใต้ มีเมืองพระบาง ( ปัจจุบัน คือ จังหวัดนครสวรรค์ ) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้

          - ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ

          - ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ


ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

          แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมันสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้


          1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น มีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ( ปิตุลาธิปไตย ) ผู้ปกครองคือพ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ไว้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาขนเข้าเฝ้า พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์และตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง


การแบ่งเขตการปกครอง


          1.) เมืองหลาง ( ราชธานี ) เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองดูแลด้วยพระองค์เอง

          - เมืองสุโขทัยป็นเมืองหลวง

          2.) หัวมืองชั้นใน ( เมืองลูกหลวง ) ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ หัวเมืองชั้นในพ่อขุนจะแต่งตั้งราชวงศ์ใกล้ชิดไปปกครอง

          - ทิศเหนือ เมืองศรีสัชชนาลัย ( สวรรคโลก )

          - ทิศตะวันออก เมืองสองแคว ( พิษณุโลก )

          - ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร )

          - ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร

          3.) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร ) ผู้ปกครองเมือง ได้แก่ เจ้านาย หรือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่พ่อขุนโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองเมืองนั้นๆ ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก ( สรรคบุรี ) เมืองสุพรรณบุรี ( อู่ทอง ) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี

          4.) เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ พ่อขุนจะกำหนดให้เจ้านายของเมืองนั้นๆ ปกครองกันเอง แต่ต้องถวายเครื่องราชบรรณาการต่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยตามกำหนด

          - ทิศตะวันออก เมืองน่าน เมืองเซ่า ( เมืองหลวงพระบาง ) เวียงจันทร์ เวียงคำ

          - ทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์

          - ทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี



          2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีลักษณะการปกครองแบบธรรมราช เนื่องจาสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความระส่ำระส่าย เมืองต่างๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( พญาลิไท ) จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบธรรมราชา ดังนั้น จึงนับได้ว่า พระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์ ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 - 4



แบบทดสอบ เรื่อง การปกครองสมัยสุโขทัย


1. อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยกษัตริย์พระองค์ใด

ก. พ่อขุนเม็งราย
ข. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ค. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ง. พ่อขุนบานเมือง


2. เมืองที่ใช้เวลาเดินเท้า 2 วัน มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ กษัตริย์ส่งพระบรมวงศานุวงศ์ไปปกครองคือเมืองใด

ก. เมืองพระยามหานคร
ข. เมืองประเทศราช
ค. เมืองราชธานี
ง. เมืองลูกหลวง


3. สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเปิดโอกาศให้ราษฎรสั่นกระดิ่งได้ เนื่องจากเหตุผลใด

ก. ราษฎรเกิดเรื่องทุกข์ร้อน
ข. เป็นความเชื่อทางศาสนา
ค. ราษฎรเกิดการเจ็บป่วย
ง. เมือนำของมาถวายพ่อขุน


4. ฐานะและพระราชอำนาจชองพระมหากษัตริย์สุโขทัย ทรงเป็นอะไรกับประชาชน

ก. กษัตริย์
ข. เจ้าชีวิต
ค. พ่อ
ง. ผู้ปกครอง


5. อาณารจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระมหากษัตริย์พระองค์ใด

ก. พญาลือไท
ข. พญาไสลือไท
ค. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาท
ง. พญาลิไท


6. คำพูดที่ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" แสดงให้เห็นว่ากรุงสุโขทัยมีลักษณะเช่นใด

ก. ขาดแคลน
ข. ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัย
ค. บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์
ง. อาหารอร่อย


7. หัวเมืองชั้นใน หรือ เมืองลูกหลวง ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือคือเมืองใด

ก. เมืองตะนาวศรี
ข. เมืองศรีสัชชนาลัย
ค. เมืองสองแคว
ง. เมืองสุพรรณบุรี


8. อาณาจักรสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชกี่พระองค์

ก. 5 พระองค์
ข. 6 พระองค์
ค. 7 พระองค์
ง. 8 พระองค์


9. การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลายมีลักษณะเป็นแบบใด

ก. ธรรมราชา
ข. เผด็จการ
ค. ประชาธิปไตย
ง. ปิตุลาธิปไตย



10. พ่อขุนในสมัยกรุงสุโขทัยจะว่าราชการที่ใด

ก. ศาลากลางกรุงสุโขทัย
ข. ท้องพระโรงกลางดงตาล
ค. ท้องพระโรงในพระราชวัง
ง. พระแท่นมนังคศิลากลางดงตาล




เฉลยแบบทดสอบ เรื่อง การปกครองสมัยสุโขทัยเป็นอยธยา


1. ค. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

2. ง. เมืองลูกหลวง

3. ก. ราษฎรเกิดเรื่องทุกข์ร้อน

4. ค. พ่อ

5. ข. พญาไสลือไท

6. ค. บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์

7. ข. เมืองศรีสัชชนาลัย

8. ข. 6 พระองค์

9. ก. ธรรมราชา

10. ง. พระแท่นมนังคศิลากลางดงตาล

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เนื้อเพลง: รูปที่มีทุกบ้าน
ขับร้อง เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์
คำร้อง นิติพงษ์ ห่อนาค
ทำนอง อภิชัย เย็นพูนสุข
เรียบเรียง วีรภัทร์ อึ้งอัมพร
ตั้งแต่เล็กยังเคยได้ถามแม่ว่า
บนข้างฝาบ้านเรานั่นติดรูปใคร
ที่แม่คอยบูชาประจำก่อนนอนทุกคืน จะต้องไหว้
แม่ตอบว่าให้กราบรูปนั้นทุกวัน
ท่านเป็นเทวดาที่มีลมหายใจ
ที่เรายังพอมีกินอย่างวันนี้
ท่านดูแลคนไทยมานานเหลือเกิน ให้จำไว้
เป็นรูปที่มีทุกบ้าน
จะรวย หรือจน หรือว่าจะใกล้ไกล
เป็นรูปที่มีทุกบ้าน
ด้วยความรัก ด้วยภักดี ด้วยจิตใจ
เติบโตมากี่สิบปีที่ผ่าน
ภาพที่เห็นคือท่านทำงานทุกวัน
เมื่อไรเราทำอะไรที่เกิดท้อ
แค่มองดูรูปบนข้างฝาจะได้กำลังใจ จากรูปนั้น
เป็นรูปที่มีทุกบ้าน
จะรวย หรือจน หรือว่าจะใกล้ไกล
เป็นรูปที่มีทุกบ้าน
ด้วยความรัก ด้วยภักดี ด้วยจิตใจ
จะขอตามรอยของพ่อ
ท่องคำว่า เพียงและพอ จากหัวใจ
เป็นลูกที่ดีของพ่อ
ด้วยความรัก ด้วยภักดี
จะขอตามรอยของพ่อ
ท่องคำว่า เพียงและพอ จากหัวใจ
เป็นลูกที่ดีของพ่อ
ด้วยความรัก ด้วยภักดี
จะขอตามรอยของพ่อ
ท่องคำว่า เพียงและพอ จากหัวใจ
เป็นลูกที่ดีของพ่อ
ด้วยความรัก ด้วยภักดี
ด้วยความรัก ด้วยภักดี ตลอดไป
จาก www.siamzone.com